วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556
การถ่ายทอดความรู้หัตถกรรมเครื่องจักสานประกอบด้วย ซึ่งยกประเด็นที่พบคือ เนื้อหาที่ถ่ายทอด พบว่าไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาตามลำดับขั้นตอนการปฏิบัติที่ผู้ถ่ายทอดความรู้หัตถกรรมเครื่องจักสานได้บอกก่อนที่จะสอนให้ลงมือปฏิบัติ และมีการบูรณการเนื้อหาหลายในการถ่ายทอดเข้าด้วยกันเรื่องเข้าด้วยกัน
ผลิตภัณฑ์โอท็อปของชุมชนตำบลดงสุวรรณ ที่มีความพิเศษโดดเด่นและได้รับความสนใจมากที่สุดคือไม้กวาดดอกแก้ว ที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากที่อื่น ใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คือมีการถักลายของด้ามไม้กวาดเป็นลายดอกแก้ว สัญลักษณ์ของตำบลดงสุวรรณแห่งเดียวในประเทศไทย และมีการจดลิขสิทธิ์ไว้แล้ว ในการผลิตแต่ละด้ามจะใส่ใจทุกรายละเอียด เพื่อคุณภาพและความคงทนในการนำไปใช้ ซึ่งศูนย์โอท็อปรับประกันคุณภาพในการใช้งาน
กลุ่มชาวบ้านผู้ผลิต ด้วยการถ่ายทอดกระบวนการสร้างสรรค์ การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่และภาพลักษณ์ของสินค้าให้เป็นที่จดจำ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าทั้งในด้านขายได้ราคามากขึ้น ลดต้นทุนในการผลิต ลดเวลาการผลิต ผลงานของผลิตภัณฑ์มีคุณค่าสื่อถึงภูมิปัญญาของท้องถิ่น ทั้งในด้านประโยชน์ใช้สอย และความสวยงาม โดยยังคงความเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของนักออกแบบและกลุ่มผู้ผลิตกระติบข้าวบ้านยางคำ เป้าประสงค์หลักคือให้คนในชุมชนได้สร้างสรรค์ผลงานหัตถกรรมจักสานที่พวกเขาต้องการด้วยตัวเอง แต่ผลิตภัณฑ์นั้นก็ต้องตอบสนองกับความต้องการของตลาดจากการสร้างรสนิยมขึ้นใหม่ที่มาจากการออกแบบ ครอบครัวชุมชน กลุ่มที่เป็นผู้ผลิตต้องดำรงอยู่ การอยู่ของอาชีพหลักและอาชีพเสริมที่สามารถเลี้ยงตัวเองเลี้ยงครอบครัวได้
การเรียนรู้ของนักออกแบบไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเองคนเดียว ในการพัฒนาสินค้าชุมชนต้องมีความร่วมมือกันของทุกฝ่าย และเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการดั้งเดิมที่มีอยู่ อีกทั้งยังเป็นการบริการวิชาการ การค้นคว้า สู่สาธารณชนและชุมชน ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ เป็นกลไกหนึ่งที่สนับสนุนให้มีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ เพื่อเป็นฐานสำหรับการพัฒนาด้านวิชาการ การเรียนการสอนได้ยิ่งขึ้น สำหรับกลุ่มผู้ผลิตชุมชนก็ต้องแสวงหาสิ่งใหม่ของการพัฒนาทั้งด้านต่างๆ ด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของนักออกแบบและกลุ่มผู้ผลิตกระติบข้าวบ้านยางคำ เป้าประสงค์หลักคือให้คนในชุมชนได้สร้างสรรค์ผลงานหัตถกรรมจักสานที่พวกเขาต้องการด้วยตัวเอง แต่ผลิตภัณฑ์นั้นก็ต้องตอบสนองกับความต้องการของตลาดจากการสร้างรสนิยมขึ้นใหม่ที่มาจากการออกแบบ ครอบครัวชุมชน กลุ่มที่เป็นผู้ผลิตต้องดำรงอยู่ การอยู่ของอาชีพหลักและอาชีพเสริมที่สามารถเลี้ยงตัวเองเลี้ยงครอบครัวได้
การเรียนรู้ของนักออกแบบไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเองคนเดียว ในการพัฒนาสินค้าชุมชนต้องมีความร่วมมือกันของทุกฝ่าย และเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการดั้งเดิมที่มีอยู่ อีกทั้งยังเป็นการบริการวิชาการ การค้นคว้า สู่สาธารณชนและชุมชน ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ เป็นกลไกหนึ่งที่สนับสนุนให้มีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ เพื่อเป็นฐานสำหรับการพัฒนาด้านวิชาการ การเรียนการสอนได้ยิ่งขึ้น สำหรับกลุ่มผู้ผลิตชุมชนก็ต้องแสวงหาสิ่งใหม่ของการพัฒนาทั้งด้านต่างๆ ด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)