วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิถีชีวิตของชาวบ้าน


        ผืนนาพื้นที่ 130 ไร่ ที่หมู่ 4 ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ถือว่าเป็นที่นาผืนสุดท้ายของจังหวัดภูเก็ตที่ยังคงมีการทำนากันอยู่ ภาพชาวนาตีข้าวและสีข้าวคงเป็นภาพที่ไม่คุ้นตาชาวภูเก็ตมากนัก วิถีชีวิตการทำนาของชาวบ้านที่นี้ยังดำเนินตามแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิตแบบคนไทย เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดขึ้นในจังหวัดภูเก็ต

        เดิมนั้นในจังหวัดภูเก็ตมีที่นา ที่สามารถที่จะผลิตข้าวเลี้ยงประชาชนในพื้นที่ได้อย่างเพียงพอ แต่เมื่อหมดแร่ดีบุก และเข้าสู่ยุคของการท่องเที่ยวทำให้ที่นาที่กระจายอยู่ทั้ง 3 อำเภอ คือ อ.ถลาง อ.กะทู้ อ.เมือง ในจังหวัดภูเก็ต ที่นาเหล่านี้ได้ถูกขายให้แก่ผู้ประกอบการสร้างเป็นรีสอร์ท โรงแรม เพื่อรองรับการการท่องเที่ยวและเป็นที่พักของนักท่องเที่ยวและเป็นหมู่บ้าน จัดสรรทำให้ที่นาในจังหวัดภูเก็ตค่อยๆหายไป จนเหลือพื้นนาที่สามารถปลูกข้าวได้เพียงแห่งเดียวคือที่บ้านไม้ขาว ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต

        ในสมัยท่านอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายปรีชา เรืองจันทร์ ได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทำการอนุรักษ์ผืนนานี้ไว้ และสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับมาเยี่ยมชมวิถีชีวิตการทำนาข้าวที่ภูเก็ตแบบครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการไถนา หว่านเมล็ดข้าวเก็บเกี่ยว ไปจนถึงขั้นตอนของการสีข้าว ซึ่งขณะนี้ชาวบ้านได้รวมกลุ่มกันในการทำนา ซึ่งเป็นการทำเกษตรเชิงท่องเที่ยว โดยมีพื้นที่ประมาณ 130 กว่าไร่ โดยจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ทางด้านการเกษตร ซึ่งมีทั้งการทำนา และโรงสีข้าว

        ด้วยแนวคิดที่จะปรับปรุงฟื้นฟูการทำนาข้าวในพื้นที่ ต.ไม้ขาว อ.ถลาง ซึ่งเป็นแหล่งสุดท้ายของจังหวัดภูเก็ตให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ โดยนักท่องเที่ยวสามารถมาดูขบวนการทำนาข้าวที่ภูเก็ตแบบครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการไถนา หว่านเมล็ดข้าวเก็บเกี่ยว ไปจนถึงขั้นตอนของการสีข้าว ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการทั้งหมด ซึ่งเป็นการทำเกษตรเชิงท่องเที่ยว










         วิถีชีวิตแบบพอเพียงที่หลายคนต่างก็เคยได้ยินได้ฟัง แต่จะมีสักกี่คนที่จะเข้าใจและนำไปปรับใช้ในชีวิต ความพอเพียงไม่ใช่แค่การปลูกผักทำนาทำเกษตรกรรมเลี้ยงตนเองเท่านั้น แต่ใจความสำคัญของวิถีชีวิตพอเพียงนั้นคือการประเมินตน มีเหตุผล ไม่ประมาท ดำรงตนอยู่ในความพอดี มีชีวิตที่สมดุลและพึ่งตนเอง
ผู้คนต่างเสียเวลาไปกับการดิ้นรนกระเสือกกระสนเพื่อหาเงินมาจับจ่ายใช้สอยให้ตัวเองมีทัดเทียมกับคนอื่น เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทางวัตถุสิ่งเหล่านี้ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตคนในสังคมไทยไปโดยสิ้นเชิง จากเดิมที่เคยมีชีวิตเรียบง่าย ให้ความสำคัญกับจิตใจมากกว่าวัตถุ ยึดถือในเรื่องคุณธรรมความดีงามมากกว่าเงินทองทรัพย์สมบัติ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น