วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555




     ความยากลำบากของเกษตรกรไทย ส่วนหนึ่งต้องโทษทุกรัฐบาล ที่ไม่ได้ให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง และจริงใจ แม้มีโครงการช่วยเหลือมากมาย อย่างรับจำนำสินค้าเกษตรนานาชนิด แต่เงินก็รั่วไหลเข้ากระเป๋าใครต่อใครเป็นว่าเล่น จนแทบไม่เหลือถึงมือเกษตรกรตัวจริงเลย

ขณะเดียวกัน หน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้อง กลับไม่กระตือรือร้นในการทำงาน รู้ทุกสิ่งอย่างว่าต้องพัฒนาผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์พืช-พันธ์สัตว์ วิธีการเพาะปลูกอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิตอย่างไร หรือเพิ่มผลผลิตต่อไร่อย่างไร แต่กลับไม่ทำสักที ได้แต่ท่องจำเป็นนกแก้วนกขุนทองอยู่อย่างนั้น

ที่สำคัญ ไม่มีระบบชลประทานที่มีประสิทธิาพ กักเก็บน้ำไว้ใช้ยามจำเป็น แต่กลับเป็นว่า เมื่อถึงฤดูน้ำหลากกลายเป็นน้ำท่วม แต่พอฝนไม่ตกก็แห้งแล้ง ผลผลิตเสียหายทั้งขึ้นทั้งล่อง ซ้ำเติมเกษตรกรให้ย่ำแย่หนักขึ้นไปอีก

ทั้งหมดทั้งมวลทำให้เกษรตกรที่ขาดความรู้ ขาดเงิน ยังวนเวียนอยู่กับวิธีการเพาะปลูกแบบเดิมๆ อาศัยเทวดาฟ้าฝน และธรรมชาติ ไม่มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อไร่ เพื่อให้มีผลผลิตขายได้มากขึ้น และมีรายได้มากขึ้น 
  

ความเชื่อของชาวบ้าน

ได้นำชาวบ้านทำพิธีเสี่ยงทายบั้งลัน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการดักจับปลาไหล มาทำพิธีในการเสี่ยงทาย ตามความเชื่อของคนอีสานซึ่งจะทำกันปีละครั้งในช่วงเทศกาลสงกรานต์วันสุดท้าย เป็นการถามเพื่อเสี่ยงทายความอยู่ดีมีสุข การทำไร่ทำนาจะพบกับความแห้งแล้ง น้ำท่วม โรคระบาดในพืชผลทางการเกษตรหรือไม่ หรือจะเกิด โรคภัยไข้เจ็บ โรคระบาดในสัตว์เลี้ยง เป็ดไก่ วัวควาย ภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติและฝนฟ้าที่จะตกต้องตามฤดูกาล ปีนี้น้ำจะมากจะน้อย เป็นการเสี่ยงทายถามถึงสภาพความเป็นอยู่โดยรวมของชาวบ้านในหมู่บ้าน และยังเป็นความเชื่อที่ชาวบ้านจะนำเอาคำพยากรณ์เหล่านี้ไปเตรียมการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรที่จะเริ่มลงมือทำนาทำไร่ หลังจากหมดเทศกาลสงกรานต์ไปแล้ว

สำหรับการทำพิธีเสี่ยงทาย ชาวบ้านจะนำเอาบั้งลัน อุปกรณ์ดักปลาไหล มาทำการนำเอา ดอกไม้ ธูปเทียน หมาก พลู บุหรี่ ข้าวเหนียว ไข่ต้ม ของที่จะอัญเชิญบูชาเทวดาให้ลงมาสิงสถิตในบั้งลัน เพื่อให้ชาวบ้านเสี่ยงทาย โดยชาวบ้านจะช่วยกันจับบั้งลันไว้ให้แน่น บั้งลันที่เป็นเพียงไม้ไผ่ธรรมดา เมื่ออัญเชิญเทวดาเข้าสิงสถิตแล้วจะทำให้ บั้งลันพยายามจะลอยขึ้นหรือเหวี่ยงไปในทิศทางต่างๆ จากนั้นผู้ทำพิธีก็จะสอบถามเสี่ยงทายสถานการณ์ ภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติต่างที่จะส่งผลกระทบต่อชาวบ้าน ซึ่งในปีหนึ่งชาวบ้านจะทำเพียงครั้งเดียว ในช่วงเทศกาลสงกรานต์เท่านั้น และเป็นความเชื่อที่ชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งนี้ได้ให้ความสำคัญเคารพนับถือมีการทำสืบสานกันมาเป็นเวลานานแล้วซึ่งปัจจุบันกำลังจะสูญหายไปจากสังคม ทำให้กลุ่มคนเฒ่า คนแก่ในหมู่บ้านได้มีการสืบสานประเพณีนี้ไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาเรียนรู้และสืบสานกันต่อไป



อาชีพของชาวบ้าน



 

 
     เป็นอาชีพที่สำคัญอาชีพหนึ่งที่ทำรายได้ให้กับครอบครัว
เพื่อหาเงินให้ลูกหลาน และประทังชีวิตเพื่ออยู่รอด และเป็นอาชีพเสริมอีกด้วย




 

การทำไร่


     ปัจจุบันมีโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตชาวเกษตรกรเป็นอย่างมากเนื่องจากว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ยากจนไม่มีเงิน แต่มีที่ดิน อย่างน้อยก็คนละ 10-30 ไร่ต่อครัวเรือน ถึงแม้ว่าจะไม่มีเงินกันก็จริงอยู่ แต่มีที่ดินสำหรับทำกิน ทางรัฐบาลจึงใช้หลักการนี้ในการช่วยเหลือเกษตรกรด้วยทำโครงการนี้ขึ้นมา ทำให้เกษตรกรลืมตาอ้าปากได้ ( สำหรับผู้ที่คิดดีทำดีเท่านั้น ) แต่โครงการนี้ก็เปรียบเสมือนดาปสองคม พ่อทองคำออกรถไถนามาก่อนโครงการนี้ประมาณ 5 ปีด้วยน้ำพักน้ำแรง และการต่อสู้กับชีวิตที่ให้ได้มาซึ่งที่ดินทำกินที่เหมาะสม และลงทุนไปก็ได้กำไรกลับมาเนื่องจากเป็นที่ดินที่อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ เพราะฉะนั้นแนวคิดในการออกรถไถนามานั้น เรื่องที่ดินของพ่อทองคำจึงเป็นเหตุผลหลัก ๆ ดังนี้ มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ทำงานของตนเองเป็นหลัก งานรับจ้างเป็นรอง ทำงานรับจ้างยามว่างเท่านั้น เน้นเฉพาะผู้ที่อยากจ้างจริง ๆ เนื่องจากปัจจุบันมีโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนนั้นสามารถที่จะดึงเงินจากธนาคารออกมา ให้หมุนเวียนอยู่นอกระบบได้ดี ดังนั้นการออกรถไถฟอร์ดมาใช้จึงเป็นเรื่องง่ายสำหรับ เกษตรกรโดยทั่วไป แต่ละคนต่างมีความคิดที่เหมือนกันดังนี้ ออกมารับจ้างอย่างไรก็คุ้มค่าซื้อรถ ค่าดอก ไม่เกิน 5ปีหลุดหนี้ ตนเองจะมีที่ดินทำกินที่ดีหรือไม่ ไม่สนเน้นรับจ้างอย่างเดียว ออกมาแล้วมีรถไถอย่างไรก็มีคนจ้าง

การทำนา

คนไทยรู้จักการปลูกข้าวมาช้านานมากกว่า 5600 ปีมาแล้ว จากหลักฐาน โบราณคดีที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งพบซากของเมล็ดพันธ์ข้าว โรยอยู่รอบๆ โครงกระดูกมนุษย์ การทำนาถือเป็นอาชีพที่เก่าแก่ของคนไทยสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษในสมัยโบราณ
ย้อนไปซัก 20-30 ปีก่อน ชาวนาไทยจะทำนาแต่ละครั้ง ต้องเตรียม อุปกรณ์ พันธุ์ข้าวแรมเดือน ผ่านขั้นตอนหลายอย่าง โดยใช้แรงงานสัตว์ เป็นเครื่องทุนแรง ส่วนใหญ่ ปลูกเอาไว้กินกันในรอบ 1 ปี ปุ๋ยที่ใช้ก็ใช้จากมูลสัตว์เลี้ยงพวก วัว ควาย การทำนาจึงมีต้นทุนน้อย ไม่มีสารพิษตกค้าง พอบ้านเมืองเจริญขึ้นความต้องการที่อยู่อาศัย โรงงานต่างๆ ได้รุกคืบเข้าสู่พื้นเกษตรกร ทำให้เกษตรกรบางส่วนยินยอมที่ขายที่ทำมาหากินที่สืบสายมาหลายทอดจากบรรพบุรุษ เพื่อที่จะได้เงินมาซื้อสิ่งของที่ตัวเองต้องการ หรือ เปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต จากทำไร่ ทำนา หันไปสู่อาชีพรับจ้าง จากโรงงานต่างๆ ทำให้อาชีพเกษตรกรชาวนา ชาวไร่ ทุกวันนี้ตกไปอยู่กับกลุ่มนายทุนเงินหนา ที่สามารถซื้อที่ดินเป็นจำนวนมากมาไว้ครองครอง และกลายเป็นหมู่บ้านจัดสรร โรงงานอุตสาหกรรม หรือ พืชสวนขนาดใหญ่ เป็นต้น
 
 
 
 
       ผลผลิตในนาข้าวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน วันชัยยังบอกอีกว่า ผมรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงจาการทำเกษตรอินทรีย์ ผลผลิตในนาข้าวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน วันชัยยังบอกอีกว่า “มันต้องแอบใส่ปุ๋ยเคมีเวลากลางคืนแน่ๆเลย” ผมบอกตามตรงว่า กลางวันผมแทบไม่มีเวลาพักผ่อน ผมจะเอาเวลาที่ใหนมาใส่ปุ๋ยในเวลากลางคืนล่ะครับ นาข้างๆเกิดปัญหาเพลี้ยลงนาข้าว ผมก็ได้แนะนำให้เขาไปว่า ทุกวันนี้ผมทำเกษตรอินทรีย์ ผมใช้พืชสมุนไพรที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาแก้ปัญหา เรื่องการใช้จ่ายค่าสารเคมีปราบศรัตรูพืชแทบไม่มีแล้ว แม้แต่บาทเดียว
ทุกวันนี้ผมหันมาทำเกษตรอินทรีย์ อีก 5 ปี ผมมีเงินล้านวันชัยยังบอกอีกว่า เขาเปรียบเทียบจากการทำเกษตรอินทรีย์กับการใช้สารเคมี ผลปรากฏว่า จากผลผลิตของผมใช้ปุ๋ยเกษตรอินทรีย์ จะได้ผลผลิต 418 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนนาข้าวที่ใช้สารเคมีจำได้ผลผลิตเพียงแค่ 345 กิโลกรัมต่อไร่ความแตกต่างค่อนข้างชัดเจน