วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การทำนา

คนไทยรู้จักการปลูกข้าวมาช้านานมากกว่า 5600 ปีมาแล้ว จากหลักฐาน โบราณคดีที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งพบซากของเมล็ดพันธ์ข้าว โรยอยู่รอบๆ โครงกระดูกมนุษย์ การทำนาถือเป็นอาชีพที่เก่าแก่ของคนไทยสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษในสมัยโบราณ
ย้อนไปซัก 20-30 ปีก่อน ชาวนาไทยจะทำนาแต่ละครั้ง ต้องเตรียม อุปกรณ์ พันธุ์ข้าวแรมเดือน ผ่านขั้นตอนหลายอย่าง โดยใช้แรงงานสัตว์ เป็นเครื่องทุนแรง ส่วนใหญ่ ปลูกเอาไว้กินกันในรอบ 1 ปี ปุ๋ยที่ใช้ก็ใช้จากมูลสัตว์เลี้ยงพวก วัว ควาย การทำนาจึงมีต้นทุนน้อย ไม่มีสารพิษตกค้าง พอบ้านเมืองเจริญขึ้นความต้องการที่อยู่อาศัย โรงงานต่างๆ ได้รุกคืบเข้าสู่พื้นเกษตรกร ทำให้เกษตรกรบางส่วนยินยอมที่ขายที่ทำมาหากินที่สืบสายมาหลายทอดจากบรรพบุรุษ เพื่อที่จะได้เงินมาซื้อสิ่งของที่ตัวเองต้องการ หรือ เปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต จากทำไร่ ทำนา หันไปสู่อาชีพรับจ้าง จากโรงงานต่างๆ ทำให้อาชีพเกษตรกรชาวนา ชาวไร่ ทุกวันนี้ตกไปอยู่กับกลุ่มนายทุนเงินหนา ที่สามารถซื้อที่ดินเป็นจำนวนมากมาไว้ครองครอง และกลายเป็นหมู่บ้านจัดสรร โรงงานอุตสาหกรรม หรือ พืชสวนขนาดใหญ่ เป็นต้น
 
 
 
 
       ผลผลิตในนาข้าวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน วันชัยยังบอกอีกว่า ผมรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงจาการทำเกษตรอินทรีย์ ผลผลิตในนาข้าวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน วันชัยยังบอกอีกว่า “มันต้องแอบใส่ปุ๋ยเคมีเวลากลางคืนแน่ๆเลย” ผมบอกตามตรงว่า กลางวันผมแทบไม่มีเวลาพักผ่อน ผมจะเอาเวลาที่ใหนมาใส่ปุ๋ยในเวลากลางคืนล่ะครับ นาข้างๆเกิดปัญหาเพลี้ยลงนาข้าว ผมก็ได้แนะนำให้เขาไปว่า ทุกวันนี้ผมทำเกษตรอินทรีย์ ผมใช้พืชสมุนไพรที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาแก้ปัญหา เรื่องการใช้จ่ายค่าสารเคมีปราบศรัตรูพืชแทบไม่มีแล้ว แม้แต่บาทเดียว
ทุกวันนี้ผมหันมาทำเกษตรอินทรีย์ อีก 5 ปี ผมมีเงินล้านวันชัยยังบอกอีกว่า เขาเปรียบเทียบจากการทำเกษตรอินทรีย์กับการใช้สารเคมี ผลปรากฏว่า จากผลผลิตของผมใช้ปุ๋ยเกษตรอินทรีย์ จะได้ผลผลิต 418 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนนาข้าวที่ใช้สารเคมีจำได้ผลผลิตเพียงแค่ 345 กิโลกรัมต่อไร่ความแตกต่างค่อนข้างชัดเจน

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น