วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555




     ความยากลำบากของเกษตรกรไทย ส่วนหนึ่งต้องโทษทุกรัฐบาล ที่ไม่ได้ให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง และจริงใจ แม้มีโครงการช่วยเหลือมากมาย อย่างรับจำนำสินค้าเกษตรนานาชนิด แต่เงินก็รั่วไหลเข้ากระเป๋าใครต่อใครเป็นว่าเล่น จนแทบไม่เหลือถึงมือเกษตรกรตัวจริงเลย

ขณะเดียวกัน หน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้อง กลับไม่กระตือรือร้นในการทำงาน รู้ทุกสิ่งอย่างว่าต้องพัฒนาผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์พืช-พันธ์สัตว์ วิธีการเพาะปลูกอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิตอย่างไร หรือเพิ่มผลผลิตต่อไร่อย่างไร แต่กลับไม่ทำสักที ได้แต่ท่องจำเป็นนกแก้วนกขุนทองอยู่อย่างนั้น

ที่สำคัญ ไม่มีระบบชลประทานที่มีประสิทธิาพ กักเก็บน้ำไว้ใช้ยามจำเป็น แต่กลับเป็นว่า เมื่อถึงฤดูน้ำหลากกลายเป็นน้ำท่วม แต่พอฝนไม่ตกก็แห้งแล้ง ผลผลิตเสียหายทั้งขึ้นทั้งล่อง ซ้ำเติมเกษตรกรให้ย่ำแย่หนักขึ้นไปอีก

ทั้งหมดทั้งมวลทำให้เกษรตกรที่ขาดความรู้ ขาดเงิน ยังวนเวียนอยู่กับวิธีการเพาะปลูกแบบเดิมๆ อาศัยเทวดาฟ้าฝน และธรรมชาติ ไม่มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อไร่ เพื่อให้มีผลผลิตขายได้มากขึ้น และมีรายได้มากขึ้น 
  

ความเชื่อของชาวบ้าน

ได้นำชาวบ้านทำพิธีเสี่ยงทายบั้งลัน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการดักจับปลาไหล มาทำพิธีในการเสี่ยงทาย ตามความเชื่อของคนอีสานซึ่งจะทำกันปีละครั้งในช่วงเทศกาลสงกรานต์วันสุดท้าย เป็นการถามเพื่อเสี่ยงทายความอยู่ดีมีสุข การทำไร่ทำนาจะพบกับความแห้งแล้ง น้ำท่วม โรคระบาดในพืชผลทางการเกษตรหรือไม่ หรือจะเกิด โรคภัยไข้เจ็บ โรคระบาดในสัตว์เลี้ยง เป็ดไก่ วัวควาย ภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติและฝนฟ้าที่จะตกต้องตามฤดูกาล ปีนี้น้ำจะมากจะน้อย เป็นการเสี่ยงทายถามถึงสภาพความเป็นอยู่โดยรวมของชาวบ้านในหมู่บ้าน และยังเป็นความเชื่อที่ชาวบ้านจะนำเอาคำพยากรณ์เหล่านี้ไปเตรียมการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรที่จะเริ่มลงมือทำนาทำไร่ หลังจากหมดเทศกาลสงกรานต์ไปแล้ว

สำหรับการทำพิธีเสี่ยงทาย ชาวบ้านจะนำเอาบั้งลัน อุปกรณ์ดักปลาไหล มาทำการนำเอา ดอกไม้ ธูปเทียน หมาก พลู บุหรี่ ข้าวเหนียว ไข่ต้ม ของที่จะอัญเชิญบูชาเทวดาให้ลงมาสิงสถิตในบั้งลัน เพื่อให้ชาวบ้านเสี่ยงทาย โดยชาวบ้านจะช่วยกันจับบั้งลันไว้ให้แน่น บั้งลันที่เป็นเพียงไม้ไผ่ธรรมดา เมื่ออัญเชิญเทวดาเข้าสิงสถิตแล้วจะทำให้ บั้งลันพยายามจะลอยขึ้นหรือเหวี่ยงไปในทิศทางต่างๆ จากนั้นผู้ทำพิธีก็จะสอบถามเสี่ยงทายสถานการณ์ ภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติต่างที่จะส่งผลกระทบต่อชาวบ้าน ซึ่งในปีหนึ่งชาวบ้านจะทำเพียงครั้งเดียว ในช่วงเทศกาลสงกรานต์เท่านั้น และเป็นความเชื่อที่ชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งนี้ได้ให้ความสำคัญเคารพนับถือมีการทำสืบสานกันมาเป็นเวลานานแล้วซึ่งปัจจุบันกำลังจะสูญหายไปจากสังคม ทำให้กลุ่มคนเฒ่า คนแก่ในหมู่บ้านได้มีการสืบสานประเพณีนี้ไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาเรียนรู้และสืบสานกันต่อไป



อาชีพของชาวบ้าน



 

 
     เป็นอาชีพที่สำคัญอาชีพหนึ่งที่ทำรายได้ให้กับครอบครัว
เพื่อหาเงินให้ลูกหลาน และประทังชีวิตเพื่ออยู่รอด และเป็นอาชีพเสริมอีกด้วย




 

การทำไร่


     ปัจจุบันมีโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตชาวเกษตรกรเป็นอย่างมากเนื่องจากว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ยากจนไม่มีเงิน แต่มีที่ดิน อย่างน้อยก็คนละ 10-30 ไร่ต่อครัวเรือน ถึงแม้ว่าจะไม่มีเงินกันก็จริงอยู่ แต่มีที่ดินสำหรับทำกิน ทางรัฐบาลจึงใช้หลักการนี้ในการช่วยเหลือเกษตรกรด้วยทำโครงการนี้ขึ้นมา ทำให้เกษตรกรลืมตาอ้าปากได้ ( สำหรับผู้ที่คิดดีทำดีเท่านั้น ) แต่โครงการนี้ก็เปรียบเสมือนดาปสองคม พ่อทองคำออกรถไถนามาก่อนโครงการนี้ประมาณ 5 ปีด้วยน้ำพักน้ำแรง และการต่อสู้กับชีวิตที่ให้ได้มาซึ่งที่ดินทำกินที่เหมาะสม และลงทุนไปก็ได้กำไรกลับมาเนื่องจากเป็นที่ดินที่อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ เพราะฉะนั้นแนวคิดในการออกรถไถนามานั้น เรื่องที่ดินของพ่อทองคำจึงเป็นเหตุผลหลัก ๆ ดังนี้ มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ทำงานของตนเองเป็นหลัก งานรับจ้างเป็นรอง ทำงานรับจ้างยามว่างเท่านั้น เน้นเฉพาะผู้ที่อยากจ้างจริง ๆ เนื่องจากปัจจุบันมีโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนนั้นสามารถที่จะดึงเงินจากธนาคารออกมา ให้หมุนเวียนอยู่นอกระบบได้ดี ดังนั้นการออกรถไถฟอร์ดมาใช้จึงเป็นเรื่องง่ายสำหรับ เกษตรกรโดยทั่วไป แต่ละคนต่างมีความคิดที่เหมือนกันดังนี้ ออกมารับจ้างอย่างไรก็คุ้มค่าซื้อรถ ค่าดอก ไม่เกิน 5ปีหลุดหนี้ ตนเองจะมีที่ดินทำกินที่ดีหรือไม่ ไม่สนเน้นรับจ้างอย่างเดียว ออกมาแล้วมีรถไถอย่างไรก็มีคนจ้าง

การทำนา

คนไทยรู้จักการปลูกข้าวมาช้านานมากกว่า 5600 ปีมาแล้ว จากหลักฐาน โบราณคดีที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งพบซากของเมล็ดพันธ์ข้าว โรยอยู่รอบๆ โครงกระดูกมนุษย์ การทำนาถือเป็นอาชีพที่เก่าแก่ของคนไทยสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษในสมัยโบราณ
ย้อนไปซัก 20-30 ปีก่อน ชาวนาไทยจะทำนาแต่ละครั้ง ต้องเตรียม อุปกรณ์ พันธุ์ข้าวแรมเดือน ผ่านขั้นตอนหลายอย่าง โดยใช้แรงงานสัตว์ เป็นเครื่องทุนแรง ส่วนใหญ่ ปลูกเอาไว้กินกันในรอบ 1 ปี ปุ๋ยที่ใช้ก็ใช้จากมูลสัตว์เลี้ยงพวก วัว ควาย การทำนาจึงมีต้นทุนน้อย ไม่มีสารพิษตกค้าง พอบ้านเมืองเจริญขึ้นความต้องการที่อยู่อาศัย โรงงานต่างๆ ได้รุกคืบเข้าสู่พื้นเกษตรกร ทำให้เกษตรกรบางส่วนยินยอมที่ขายที่ทำมาหากินที่สืบสายมาหลายทอดจากบรรพบุรุษ เพื่อที่จะได้เงินมาซื้อสิ่งของที่ตัวเองต้องการ หรือ เปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต จากทำไร่ ทำนา หันไปสู่อาชีพรับจ้าง จากโรงงานต่างๆ ทำให้อาชีพเกษตรกรชาวนา ชาวไร่ ทุกวันนี้ตกไปอยู่กับกลุ่มนายทุนเงินหนา ที่สามารถซื้อที่ดินเป็นจำนวนมากมาไว้ครองครอง และกลายเป็นหมู่บ้านจัดสรร โรงงานอุตสาหกรรม หรือ พืชสวนขนาดใหญ่ เป็นต้น
 
 
 
 
       ผลผลิตในนาข้าวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน วันชัยยังบอกอีกว่า ผมรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงจาการทำเกษตรอินทรีย์ ผลผลิตในนาข้าวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน วันชัยยังบอกอีกว่า “มันต้องแอบใส่ปุ๋ยเคมีเวลากลางคืนแน่ๆเลย” ผมบอกตามตรงว่า กลางวันผมแทบไม่มีเวลาพักผ่อน ผมจะเอาเวลาที่ใหนมาใส่ปุ๋ยในเวลากลางคืนล่ะครับ นาข้างๆเกิดปัญหาเพลี้ยลงนาข้าว ผมก็ได้แนะนำให้เขาไปว่า ทุกวันนี้ผมทำเกษตรอินทรีย์ ผมใช้พืชสมุนไพรที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาแก้ปัญหา เรื่องการใช้จ่ายค่าสารเคมีปราบศรัตรูพืชแทบไม่มีแล้ว แม้แต่บาทเดียว
ทุกวันนี้ผมหันมาทำเกษตรอินทรีย์ อีก 5 ปี ผมมีเงินล้านวันชัยยังบอกอีกว่า เขาเปรียบเทียบจากการทำเกษตรอินทรีย์กับการใช้สารเคมี ผลปรากฏว่า จากผลผลิตของผมใช้ปุ๋ยเกษตรอินทรีย์ จะได้ผลผลิต 418 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนนาข้าวที่ใช้สารเคมีจำได้ผลผลิตเพียงแค่ 345 กิโลกรัมต่อไร่ความแตกต่างค่อนข้างชัดเจน

 

 

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณี

 
 


         
          ชาวบ้านจาก 15 หมู่บ้าน ที่อาศัยอยู่ติดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ด้านจังหวัดสุรินทร์ ร่วมสืบสานประเพณี “ ทำบุญร่วมมิตร จัดอาหารพร้อมสิ่งของถวายวัดตามแนวชายแดน
ชาวบ้านจาก 15 หมู่บ้านของตำบลตรวจ ร่วมประเพณี “ ทำบุญร่วมมิตร” ที่ วัดป่าบ้านตาแดก หมู่ที่ 6 บ้านตาแดก ตำบลตรวจ อำเภอศรีณรงค์จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,ผู้นำชุมชนและชาวบ้านในพื้นที่ ร่วมกันจัดขึ้น สำหรับประเพณี “ทำบุญร่วมมิตร” เป็นกิจกรรมสำคัญก่อนวันออกพรรษาของชาวบ้านเขตอำเภอศรีณรงค์ ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่ติดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา โดยชาวบ้านจะนำข้ามปลาอาหารหวาน-อาหารคาว จตุปัจจัยไทยธรรม ไปถวายพระภิกษุสงฆ์ ตามวัดภายในหมู่บ้านต่างๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล จากนั้นเหล่าพุทธศาสนิกชน จะร่วมจัดการแข่งขัน การขับร้องทำนองสรภัญญะ ที่เล่าขานตำนานพุทธประวัติขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ขับร้องอย่างไพเราะ และพร้อมเพรียงกัน สำหรับ ประเพณี “ ทำบุญร่วมมิตร ”นี้ นอกจากจะเป็นการสืบทอดประเพณีอันดีงามให้คงอยู่แล้ว ยังจะก่อให้เกิดความรัก-ความสามัคคี ให้เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา อีกทางหนึ่งด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความเป็นอยู่ของชาวบ้าน

 
 
              จากการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผลของการวิจัยได้ชี้ให้เห็นถึงสาเหตุของปัญหาว่า ส่วนหนึ่งเกิดมาจากความไม่รู้กฎหมายของผู้ประสบปัญหาและครอบครัว ความไม่รู้กฎหมายนี้เองที่เป็นตัวสร้างปัญหา และในหลายต่อหลายครั้งก็เป็นตัวที่ทำให้ปัญหาต่างๆ ทวีความรุนแรงขึ้น ดังนั้น ในการแก้ไขปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติ สิ่งที่จำเป็นและสำคัญที่สุด คือ การสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติ บุคคลที่จะมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหา หรือแม้แต่กลุ่มคนอีกประเภทหนึ่งซึ่งเป็นผู้สร้างปัญหานั้นเสียเองอย่างไรก็ตาม บุคคลที่จะสามารถแก้ไขปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติได้ดีที่สุด ก็คือ บุคคลที่ตกอยู่ในสภาพการณ์นั้น อันได้แก่ เจ้าของปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติ เนื่องจากพวกเขาเหล่านี้เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาที่เกิดขึ้น และเป็นผู้ที่เข้าใจถึงปัญหาของตนเองได้ดีที่สุด
            นอกจากนี้แล้ว พวกเขาย่อมจะเป็นผู้ที่มีความสนใจ กระตือรือร้น ในการแก้ไขหรือเยียวยาปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด แต่เนื่องจากความไม่รู้กฎหมายและไม่รู้จักวิธีการใช้กฎหมายเพื่อการรักษาโรคของความไร้รัฐไร้สัญชาติเหล่านี้ อุปสรรคต่างๆ จึงตามมา และปัญหาจึงไม่ได้รับการแก้ไขอย่างตรงประเด็นนอกจากนี้ ยังมีกลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งจะเข้ามาทำหน้าที่เป็น “ที่ปรึกษาโครงการ” หรือ “ครูอาสา” ในการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ให้กับเจ้าของปัญหาและครอบครัว ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของหลายๆ ภาคส่วนในสังคมไทย เป็นกลุ่มคนที่จะมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
              ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง "จำลองห้องเรียนกฎหมาย" ทั้งในพื้นที่ส่วนกลาง คือ กรุงเทพฯ และในพื้นที่อื่นๆ ที่ปรากฏคนไร้รัฐไร้สัญชาติ เป็นลักษณะของห้องเรียนกฎหมายเคลื่อนที่ เพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านกฎหมายให้แก่ชาวบ้านที่ประสบปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติ รวมไปถึงองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหานั้นๆ
               นอกจากองค์ความรู้ที่จะได้รับแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ห้องเรียนกฎหมายจะปลูกฝังให้แก่นักเรียนทุกคน โดยเฉพาะเจ้าของปัญหา คือ ความกล้าหาญ ที่จะลุกขึ้นต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิที่ตน ครอบครัว และชุมชนควรจะได้รับตามกฎหมาย ทั้งนี้เมื่อเจ้าของปัญหาทุกคนมีความรู้รวมกับความกล้าหาญที่จะนำความรู้นั้นไปใช้แก้ไขปัญหาแล้ว ในที่สุดแล้วสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา ก็คือ ความมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติในทุกจุดเล็กๆ ของสังคมไทยด้วยตัวของคนไร้รัฐไร้สัญชาติเอง
 

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิถีชีวิตของชาวบ้าน


        ผืนนาพื้นที่ 130 ไร่ ที่หมู่ 4 ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ถือว่าเป็นที่นาผืนสุดท้ายของจังหวัดภูเก็ตที่ยังคงมีการทำนากันอยู่ ภาพชาวนาตีข้าวและสีข้าวคงเป็นภาพที่ไม่คุ้นตาชาวภูเก็ตมากนัก วิถีชีวิตการทำนาของชาวบ้านที่นี้ยังดำเนินตามแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิตแบบคนไทย เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดขึ้นในจังหวัดภูเก็ต

        เดิมนั้นในจังหวัดภูเก็ตมีที่นา ที่สามารถที่จะผลิตข้าวเลี้ยงประชาชนในพื้นที่ได้อย่างเพียงพอ แต่เมื่อหมดแร่ดีบุก และเข้าสู่ยุคของการท่องเที่ยวทำให้ที่นาที่กระจายอยู่ทั้ง 3 อำเภอ คือ อ.ถลาง อ.กะทู้ อ.เมือง ในจังหวัดภูเก็ต ที่นาเหล่านี้ได้ถูกขายให้แก่ผู้ประกอบการสร้างเป็นรีสอร์ท โรงแรม เพื่อรองรับการการท่องเที่ยวและเป็นที่พักของนักท่องเที่ยวและเป็นหมู่บ้าน จัดสรรทำให้ที่นาในจังหวัดภูเก็ตค่อยๆหายไป จนเหลือพื้นนาที่สามารถปลูกข้าวได้เพียงแห่งเดียวคือที่บ้านไม้ขาว ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต

        ในสมัยท่านอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายปรีชา เรืองจันทร์ ได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทำการอนุรักษ์ผืนนานี้ไว้ และสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับมาเยี่ยมชมวิถีชีวิตการทำนาข้าวที่ภูเก็ตแบบครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการไถนา หว่านเมล็ดข้าวเก็บเกี่ยว ไปจนถึงขั้นตอนของการสีข้าว ซึ่งขณะนี้ชาวบ้านได้รวมกลุ่มกันในการทำนา ซึ่งเป็นการทำเกษตรเชิงท่องเที่ยว โดยมีพื้นที่ประมาณ 130 กว่าไร่ โดยจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ทางด้านการเกษตร ซึ่งมีทั้งการทำนา และโรงสีข้าว

        ด้วยแนวคิดที่จะปรับปรุงฟื้นฟูการทำนาข้าวในพื้นที่ ต.ไม้ขาว อ.ถลาง ซึ่งเป็นแหล่งสุดท้ายของจังหวัดภูเก็ตให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ โดยนักท่องเที่ยวสามารถมาดูขบวนการทำนาข้าวที่ภูเก็ตแบบครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการไถนา หว่านเมล็ดข้าวเก็บเกี่ยว ไปจนถึงขั้นตอนของการสีข้าว ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการทั้งหมด ซึ่งเป็นการทำเกษตรเชิงท่องเที่ยว










         วิถีชีวิตแบบพอเพียงที่หลายคนต่างก็เคยได้ยินได้ฟัง แต่จะมีสักกี่คนที่จะเข้าใจและนำไปปรับใช้ในชีวิต ความพอเพียงไม่ใช่แค่การปลูกผักทำนาทำเกษตรกรรมเลี้ยงตนเองเท่านั้น แต่ใจความสำคัญของวิถีชีวิตพอเพียงนั้นคือการประเมินตน มีเหตุผล ไม่ประมาท ดำรงตนอยู่ในความพอดี มีชีวิตที่สมดุลและพึ่งตนเอง
ผู้คนต่างเสียเวลาไปกับการดิ้นรนกระเสือกกระสนเพื่อหาเงินมาจับจ่ายใช้สอยให้ตัวเองมีทัดเทียมกับคนอื่น เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทางวัตถุสิ่งเหล่านี้ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตคนในสังคมไทยไปโดยสิ้นเชิง จากเดิมที่เคยมีชีวิตเรียบง่าย ให้ความสำคัญกับจิตใจมากกว่าวัตถุ ยึดถือในเรื่องคุณธรรมความดีงามมากกว่าเงินทองทรัพย์สมบัติ